ข้อบังคับ
สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย
ฉบับแก้ไขใหม่ และเพิ่มเติม พ.ศ. 2558
---------------------------------

1. สมาคมนี้ชื่อว่า “สมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการแห่งประเทศไทย” ใช้อักษร ย่อว่า “ส.พ.ส.ท.” ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai Association for Health, Physical Education and Recreation” และ ใช้อักษรย่อภาษาอังกฤษว่า “TAHPER”

 

วัตถุประสงค์

2. สมาคมนี้เป็นสมาคมทางวิชาการไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองและมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

ก. ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิก

ข. ศึกษาและวิจัยวิชาสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ

ค. ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ

ง. เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเพิ่มพูนความรู้ระหว่างสมาชิก

จ. เป็นศูนย์การติดต่อและร่วมมือกับองค์การและสมาคมที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึง กันทั้งในและนอกประเทศ

ฉ. ส่งเสริมให้สมาชิกได้ดูงาน หรือศึกษาวิชาสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการทั้ง ในและนอกประเทศ

 

ที่ตั้งสมาคม

3. สมาคมตั้งอยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

 

ประเภทของสมาชิก

4. สมาคมมีสมาชิก 4 ประเภท คือ

ก. สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้ที่มีวุฒิ ผู้สอนเคยสอนหรือทำงานเกี่ยวกับวิชาการทาง สุขศึกษา พลศึกษา หรือสันทนาการ

ข. สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้ที่มีความสนใจและยินดีให้ความร่วมมือในกิจการของสมาคม

ค. สมาชิกสมทบ ได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาวิชาสุขศึกษา พลศึกษา หรือสันทนาการ

ง. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ ทรงคุณวุฒิ หรือมีอุปการคุณแก่ สมาคมนี้ ซึ่งคณะกรรมการบริหารเสนอให้เชิญเป็นสมาชิก และได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุม คณะกรรมการบริหารด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของกรรมการที่มาประชุม

 

การเป็นสมาชิก

5. ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกทุกประเภทยกเว้นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้ยื่นใบสมัครตามแบบ ของสมาคมต่อเลขาธิการของสมาคมโดยมีสมาชิกสามัญหนึ่งคนรับรองว่าเป็นผู้มีความประพฤติ และมีลักษณะตามประเภทของสมาชิกในข้อ 4 ให้คณะกรรมการบริหารของสมาคมพิจารณา บุคคลผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก โดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา หรือลัทธิความเชื่อถือ เว้นแต่จะเป็นลัทธิความเชื่อถือที่เป็นภัยต่อส่วนรวม เมื่อเห็นสมควรรับเข้าเป็นสมาชิก ให้แจ้งแก่ ผู้สมัครทราบเป็นลายลักษณ์อักษร สมาชิกภาพของผู้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันลงทะเบียนเป็นต้นไป

 

การขาดจากสมาชิกภาพ

6. สมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงเมื่อ

ก. ตาย

ข. ลาออก

ค. เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถตามคำพิพากษาของศาล

ง. ประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียงโดยคณะกรรมการบริหารมีมติให้ออกด้วยคะแนน เสียง 2 ใน 3 ของคณะกรรมการบริหารทั้งหมดหรือสมาชิกไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของ สมาชิกที่มาประชุมใหญ่มีมติให้ออก

จ. ค้างค่าบำรุงประจำปี โดยเจ้าหน้าที่ได้ทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษรถึง 3 ครั้งแล้วยังไม่ชำระ

ฉ. ขาดคุณสมบัติของสมาชิกตามที่ระบุไว้ในข้อ 4 (ค)

 

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

7. สมาชิกมีสิทธิและหน้าที่ ดังนี้

ก. สมาชิก มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคม

ข. สมาชิกมีสิทธิเสนอความเห็น สอบถามข้อเท็จจริงหรือขอดูหลักฐานอันเกี่ยวกับการ ดำเนินงานของสมาคม

ค. สมาชิกมีสิทธิได้รับวารสารของสมาคมเป็นประจำ โดยไม่ต้องเสียค่าบำรุงเป็นพิเศษ

ง. สมาชิกมีสิทธิได้รับประโยชน์จากการของสมาคม

จ. สมาชิกทุกประเภท ยกเว้นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ต้องชำระค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก 50 บาทกับเงินค่าบำรุงสมาคมประจำปีตามอัตราดังต่อไปนี้

1. สมาชิกสามัญและวิสามัญปีละ 200 บาท

2. สมาชิกสมทบปีละ 200 บาท

สมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญชำระค่าบำรุงคราวเดียว 1,000 บาท ไม่ต้องชำระ ค่าบำรุงประจำปีอีก

ฉ. สมาชิกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบของสมาคม

ช. สมาชิกมีสิทธิและหน้าที่อื่น ๆ ที่ระบุไว้ในข้อบังคับนี้

ซ. สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิรับเลือกตั้งและออกเสียงในการประชุมใหญ่

 

การบริหารของสมาคม

8. ให้มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งจำนวนไม่เกิน 19 คน ประกอบด้วย

1. นายก

2. อุปนายก 3 คน

3. เลขาธิการ

4. รองเลขาธิการ

5. เหรัญญิก

6. ปฏิคม

7. สาราณียกร

8. นายทะเบียน

9. ประธานฝ่ายสุขศึกษา1

10. ประธานฝ่ายพลศึกษา

11. ประธานฝ่ายนันทนาการและ

12. กรรมการอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร อีกไม่เกิน 6 คน

คณะกรรมการบริหารนี้มีอายุในตำแหน่งคราวละ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสมาคม กรุงเทพมหานครลงนาม

9. การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร ให้กระทำในที่ประชุมใหญ่ โดยให้สมาชิกเลือกตั้งนายกสมาคม และให้นายกสมาคมแต่งตั้งกรรมการบริหารตามระบุในข้อ 8

10. ถ้าตำแหน่งกรรมการบริหารว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการบริหารเลือกตั้งสมาชิกเข้าดำรงตำแหน่งแทน และให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่า กำหนดเวลาตามวาระของผู้ที่ตนแทน

11. กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่ง โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

ก. ถึงคราวออกตามวาระ

ข. ลาออก หรือ

ค. ขาดจากสมาชิกภาพ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ

12. ที่ประชุมใหญ่ อาจลงมติให้ถอดถอนกรรมการบริหารทั้งคณะหรือบางคนได้โดยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ในกรณีที่ดำเนินกิจการของสมาคมนอกเหนือไปจาก วัตถุประสงค์และข้อบังคับ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สมาคม

13. คณะกรรมการบริหารมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

ก. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม

ข. วางระเบียบ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบังคับ

ค. เชิญบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการที่ปรึกษา หรือเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์

ง. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

จ. บรรจุ แต่งตั้ง และถอดถอนเจ้าหน้าที่สมาคม

14. ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อพิจารณาหรือกิจการของสมาคม ในการประชุมทุกครั้งต้องมีกรรมการบริหารเข้าประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม

15. ให้นายกเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ถ้านายกไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการบริหารคนใดคนหนึ่งที่มาประชุมทำหน้าที่เป็นประธานของที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้นได้

16. มติของที่ประชุมกรรมการบริหารให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ ประธานที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

17. ให้คณะกรรมการบริหารจัดการให้มีการประชุมทางวิชาการได้ตามที่เห็นสมควร

 

การประชุมใหญ่

18. ให้คณะกรรมการบริหารเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละครั้ง ทุกรอบปีของสมาคมเพื่อ แถลงกิจการของสมาคมที่ได้กระทำไปแล้ว เสนองบประมาณประจำปี แสดงบัญชีงบดุล แต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี ตลอดจนดำเนินการอื่นของสมาคม ปีของสมาคมให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม และ สิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน ของปีปฏิทินถัดไป

19. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี คณะกรรมการบริหารต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 15 วัน

20. คณะกรรมการบริหารหรือสมาชิกสามัญรวมกันไม่น้อยกว่า 30 คน มีสิทธิขอให้เรียกประชุมใหญ่ วิสามัญได้ โดยแจ้งเหตุผลเป็นหนังสือให้เลขาธิการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันพร้อมด้วย วัน เวลา สถานที่ และวัตถุประสงค์ การประชุมใหญ่วิสามัญ ต้องมีสมาชิกประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดจึงจะนับเป็นองค์ประชุม

21. ถ้าการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญต้องเลื่อนไปเพราะสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม การประชุมใหญ่ครั้งที่สอง จะมีสมาชิกประชุมเป็นจำนวนเท่าใดก็ให้ถือเป็น ครบองค์ประชุม แต่เรียกประชุมใหญ่ครั้งที่สอง ต้องเรียกประชุมภายใน 14 วัน นับจากวันนัด ประชุมใหญ่ครั้งที่หนึ่ง

22. ในการประชุมใหญ่สามัญและการประชุมวิสามัญ ให้นายกและอุปนายกทำหน้าที่เป็นประธาน และรองประธานที่ประชุมตามลำดับถ้านายกไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกทำ หน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกบุคคล ที่เหมาะสมขึ้นเป็นประธานและรองประธานที่ประชุมแทน

23. การลงมติในที่ประชุมใหญ่ ถือตามมติของเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด เว้นแต่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 6 ง. 12, 31 และ 34

 

การเงิน

24. สมาคมมีรายได้จาก

ก. เงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงของสมาชิก

ข. เงินที่ได้รับจากการบริจาค

ค. เงินอุดหนุน

ง. เงินผลประโยชน์อื่น ๆ

25. ให้ฝากเงินของสมาคมไว้กับธนาคาร และให้เหรัญญิกมีเงินสดไว้หมุนเวียนใช้ได้ไม่เกิน 10,000 บาท

26. การใช้จ่ายเงินเพื่อกิจการของสมาคม ให้กระทำไปตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ เฉพาะใน กรณีที่จำ เป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของสมาคม นายกมีอำ นาจอนุมัติให้สั่งจ่ายเงิน นอกเหนือไปจากงบประมาณได้ไม่เกินครั้งละ 100,000 บาท แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการ บริหารทราบ ในคราวประชุมครั้งต่อไปทุกครั้ง แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องจ่ายเงินนอกเหนือไปจาก งบประมาณเกินกว่าครั้งละ 100,000 บาท ให้ขออนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ การจ่ายเงินต้องมีลาย มีชื่อ นายกและเหรัญญิก ถ้านายกไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกลงลายมือชื่อ ในการสั่งจ่ายเงินแทน

27. ให้เหรัญญิกเป็นผู้รวบรวมทำงบดุล ค่าใช้จ่ายประจำปีของสมาคม รวบรวมและเก็บรักษา หลักฐานการเงินใบสำคัญบัญชีเบิกจ่ายของคณะกรรมการบริหาร และให้ผู้สอบบัญชีทำการสอบ บัญชีของสมาคมให้เรียบร้อยเป็นรายปี

28. ผู้สอบบัญชีของสมาคมต้องไม่เป็นกรรมการบริหาร สมาชิก หรือพนักงานของสมาคมนี้

29. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับการบัญชีของสมาคม และในการสอบบัญชีมี อำนาจสอบถามกรรมการและพนักงานของสมาคมนี้ได้

30. คณะกรรมการบริหารของสมาคม ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในทรัพย์สิน และการเงินของสมาคม และจัดให้ทำบัญชีทรัพย์สิน และการเงินของสมาคม ตามหลักการบัญชีให้ถูกต้องอยู่เสมอ

 

การเลิกสมาคม

31. เมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิกสมาคมโดยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมดสมาคมก็ เป็นอันเลิกล้มไป

32. ทรัพย์สินของสมาคมที่ยังเหลืออยู่ หลังจากการชำระบัญชีแล้วให้มอบแก่กรมพลศึกษาเพื่อใช้ ประโยชน์ในการส่งเสริมสุขศึกษาและสันทนาการ สำหรับประชาชนต่อไป

33. ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะสมาคมมาใช้ข้อบังคับ ในเมื่อข้อบังคับของสมาคมของสมาคมนี้มิได้กำหนดไว้

 

การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

34. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่โดยมติ 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมและจะใช้บังคับได้ต่อไปเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว

บทเฉพาะกาล

35. ให้ผู้เริ่มการก่อตั้งสมาคมเป็นสมาชิกสามัญนับตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนก่อตงั้ สมาคมนี้

36. ให้ผู้ริเริ่มการก่อตั้งสมาคมแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดแรก

 

 

signature 01

                    ลงชื่อ ........................................................ ผู้จัดทำข้อบังคับ

                (รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต  คนึงสุขเกษม)

                      นายกสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย

Please publish modules in offcanvas position.